Pages

Friday, September 4, 2020

การเงินมั่นคง ครัวเรือนมั่งคั่ง (3) สำรวจสุขภาพทางการเงิน - thansettakij.com

serenalisa.blogspot.com

การเงินมั่นคง ครัวเรือนมั่งคั่ง (3) สำรวจสุขภาพทางการเงิน คอลัมน์เศรษฐทัศน์ โดย รศ.(พิเศษ) ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,606 หน้า 5 วันที่ 3 - 5 กันยายน 2563

ในตอนที่ 3 ของบทความเรื่องนี้ ผมอยากแบ่งปันประสบการณ์เรื่องการสำรวจสุขภาพทางการเงินผ่านงบการเงินส่วนบุคคล เวลาเราต้องการดูว่าเรามีความมั่นคงทางการเงินแค่ไหน หรือบางคนต้องการดูว่า ทำไมเรายังจนอยู่ หรือ เรารวยหรือยัง เราสามารถสำรวจสถานะการเงินของตนเอง ผ่านงบการเงินของเราได้ ซึ่งไม่ยากเลยครับ 

งบการเงินส่วนบุคคล แบ่งได้เป็น 2 งบ ได้แก่ งบรายได้รายจ่าย (บางแห่งเรียกว่า งบกระแสเงินสด) และงบดุล (บางแห่งเรียกงบแสดงฐานะการเงิน) ซึ่งสรุปแก่นเนื้อหาได้ดังนี้

1. งบรายได้รายจ่าย

เป็นงบที่แสดงให้เห็นในรอบระยะเวลาหนึ่งเช่น 1 เดือน หรือ 1 ปี เรามีรายรับที่เป็นเงินเข้ามาจากทางใดบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด และมีรายจ่ายออกไปในทางใดบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าใด  โดยหลักการแล้ว คนที่มีสุขภาพการเงินดี ย่อมมีรายรับ มากกว่า รายจ่าย หรือรับ ลบ จ่าย ต้องเป็นบวก 

คนที่มีรายรับมากกว่ารายจ่าย ส่วนต่างเราอาจเรียกว่า เงินออม ซึ่งเป็นเงินที่เหลือเก็บไว้เพื่อเอาไปทำประโยชน์ เช่น ลงทุนเพื่อเอาไว้ตอบสนองเป้าหมายตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ทั้งในส่วนที่เราวางแผนไว้ หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ 

ทำไมเราจึงควรเก็บเงินออมสะสมไว้ ไม่ใช้จ่ายจนหมดในแต่ละงวด เหตุผลก็คือ การบริโภค หรือ การใช้จ่ายเกิดขึ้นตลอดทุกช่วงเวลาของชีวิต แต่รายได้โดยเฉพาะจากการทำงานอาจเกิดขึ้นได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงช่วงเราเกษียณเท่านั้น เงินออมหรือเงินลงทุนที่เราสะสมไว้ จึงเปรียบเหมือนเสบียงที่เราเก็บไว้ใช้ยามที่เราไม่ได้ทำงานแล้ว 

คนที่ออมมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นคนที่เข้าใจหลักการและมีพื้นฐานที่จะทำให้ชีวิตมีความมั่นคงทางการเงิน แต่คนที่รายรับน้อยกว่ารายจ่าย แบบนี้เรียกว่าชีวิตติดลบแล้ว โดยธรรมชาติก็จะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา ซึ่งมีทั้งดอกและเงินต้นที่ต้องคืนกลับให้เจ้าหนี้ในอนาคต กลายเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มต่อไป ถ้าไม่สามารถเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ชีวิตก็จะติดลบซํ้าซาก และต้องกู้หนี้ต่อไป ทำให้หนี้สินล้นพ้นตัว จนล้มละลายได้

เทคนิคง่ายๆ นอกเหนือจากการคุมภาพรวมให้รายได้มากกว่ารายจ่าย เพื่อให้มีเงินออมเป็นบวกแล้ว ก็คือ เทคนิคการเพิ่มรายได้ รายได้จากการทำงานถือว่าเป็นรายได้หลักของมนุษย์ที่มีร่างกายและสมองมีความชำนาญในวิชาชีพต่างๆ กันไป การพัฒนาตนเองให้เกิดความรู้ประสบการณ์และเติบโตในหน้าที่การงาน จะเป็นแหล่งที่มาอย่างต่อเนื่องของรายได้จากการทำงานที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันไปสู่อนาคต บางคนขยันหาอาชีพเสริมช่วงนอกเวลาการทำงานประจำ นี่ก็ยิ่งทำให้ Human Asset ของตัวเองมีค่ามากขึ้นไปอีก 

อย่างไรก็ตาม Human Asset ของเรามีขีดจำกัด เช่น ร่างกายและสมองของเราก็ต้องการพักผ่อน ต้องการเวลาให้กับชีวิตส่วนตัว และพักผ่อนด้วย ดังนั้น จึงควรให้สินทรัพย์ชนิดอื่นทำงานสร้างรายได้ให้เราด้วย เงินออมที่เรา สะสมจึงถูกนำกลับไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อสร้างดอกผลให้กลับมาเป็นรายได้ส่วนเพิ่มจากการลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มของเงินออม ช่วยให้มี ความมั่นคงทางการเงินมากกว่าเดิมไปอีกแบบต่อเนื่อง 


ใครอยากมีเงินออมเพิ่ม ยังมีอีกเทคนิคหนึ่ง คือ การบริหารรายจ่าย ในชีวิตของคนเราอาจมีค่าใช้จ่ายประเภทที่ต้องจ่ายไปทุกเดือน เช่น ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ซึ่งเราต้องคอยควบคุมไม่ให้สูงจนเราผ่อนไม่ไหว หลักการก็คือว่าอย่าให้ค่าใช้จ่ายผ่อนหนี้เกินกว่า 40% ของรายได้รวมของเรา เพราะเรายังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ที่ต้องมีในชีวิตเราอีก ซึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายผันแปร ที่ว่าผันแปรก็คือแปรตามความจำเป็นและความต้องการแบบรื่นรมย์ในชีวิต ในส่วนความจำเป็นก็คือ จำเป็นต่อชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่านํ้าค่าไฟ เป็นต้น ถ้าไม่มีก็คงไม่ได้ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อความรื่นรมย์ เช่น การ ไปเที่ยว ช็อปปิ้งนี่ก็ต้องมีบ้าง แต่ปัญหาของคนที่มีชีวิตแบบเงินออมติดลบ เมื่อย้อนไปดูก็มักพบว่ามีค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องจ่ายสูงเกินไป (มากกว่า 40% ของรายได้) และยังมีค่าใช้จ่ายผันแปรมากเกินไป ทำให้รายรับสุทธิติดลบ หรือ ไม่ติดลบก็มีเงินออมในระดับที่ตํ่าเกินไป ใครอยากมีเงินออมเพิ่ม ลองหยิบงบรายได้รายจ่ายมาดู และใส่เทคนิคที่ผมเล่า ลองไปใช้ดูครับ

2. งบดุล

จากภาพแสดงโครงสร้างของงบดุลของบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วย สินทรัพย์ และหนี้สิน ณ ขณะใดขณะหนึ่งของบุคคล ถ้าเราอยากรู้ความมั่งคั่งของบุคคลก็ง่ายๆ ครับ ทำได้ดังนี้

จากสมการนี้ ความมั่งคั่งจะเพิ่มได้ ทำได้ 2 ทางครับ เพิ่มสินทรัพย์ และลดหนี้สิน เวลาเราเดินทางไปในชีวิต ความมั่งคั่งของราควรจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วยการบริหารให้หนี้สินลดลง โดยเฉพาะหนี้ระยะยาวก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ ควรจะมีระดับลดลงเรื่อยๆ และไม่ควรก่อหนี้ก้อนใหม่ที่ไม่จำเป็นอีก เพราะชีวติเราไม่มีเวลามากมาคอยปลดหนี้ใหญ่ได้หลายครั้ง 

ส่วนสินทรัพย์ในชีวิตนั้น เราควรมีสินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด เงินฝากออมทรัพย์ เพื่อรองรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือรองรับเหตุฉุกเฉินดังกรณีเหตุการณ์ Covid-19 นี้ หากเราไม่มีบัญชีเงินฝากสำรองไว้ใช้จ่าย ใครที่ตกงานจากเหตุการณ์นี้จะลำบากมาก 

เทคนิคที่ผมอยากบอกในเรื่องนี้ก็คือ เราควรมีบัญชีสำรองเผื่อเหตุฉุกเฉิน แยกจากบัญชีอื่นโดยมียอดเงินประมาณ 6 เดือนของรายจ่ายประจำเดือนของเรา เช่น ถ้าเราต้องใช้จ่ายขั้นตํ่าเดือนละ 10,000 บาท เราก็ควรมีบัญชีสำรองนี้ในยอดไม่ตํ่ากว่า 60,000 บาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สภาพคล่อง 

ในด้านสินทรัพย์ส่วนตัวนั้น อาจเป็น บ้านพร้อมที่ดิน หรือคอนโดเพื่อใช้อยู่อาศัย รถยนต์ และสินทรัพย์ส่วนตัวอื่นๆ เช่น เครื่องประดับ สินทรัพย์เหล่านี้โดยทั่วไปเราจะไม่ได้มีไว้เพื่อขาย ถ้าไม่ถึงขั้นอับจนจริงๆ แต่มีไว้เพื่อใช้ ประโยชน์ การมีสินทรัพย์เหล่านี้มากเกินไปจะไม่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนกับเข้าไปที่งบรายได้รายจ่าย 

สินทรัพย์ที่ในอนาคตจะมีความสำคัญต่อชีวิตของเราคือ สินทรัพย์ลงทุน ซึ่งอาจอยู่ในหลายลักษณะ เช่น เงินฝาก หุ้นสามัญ ตราสารหนี้ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ โลหะมีค่า เป็นต้น ซึ่งเราควรทยอยสะสม และจัดสัดส่วนตามสไตล์ที่เราชอบ ความถนัดในการลงทุน รวมทั้งตามระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ โดยจัดแล้ว และบริหารแล้ว ควรให้ได้รับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในอัตราที่ดีกว่าอัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งปัจจุบันได้รับในอัตราที่ตํ่ามาก 

เช่น จัดแล้วทำให้เดินทางไปในอัตรา 5% ต่อปี แม้มีความเสี่ยง แต่ก็ดีกว่าเดินทางไปในอัตรา 0.5% ซึ่งไปช้ามากกว่าจะบรรลุเป้าหมาย เรื่องความเสี่ยงเป็นเรื่องที่จะต้องไปเรียนรู้ เพราะสามารถบริหารจัดการได้ แต่จะยิ่งเสี่ยงมากกว่า ถ้าไม่เรียนรู้ที่จะลงทุนเลย 

เคล็ดลับก็คือ เวลาเราเดินทางชีวิตไปยังอนาคต สินทรัพย์ที่ควรเพิ่มมากขึ้น คือ สินทรัพย์ลงทุน เพราะสามารถจะไปสร้างรายได้ให้นอกเหนือจาก Human Asset ของเรา เวลาเรามีเงินออมหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ควรวิ่งมาเพิ่มสินทรัพย์ลงทุนแล้ว ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลงทุนก็จะวิ่งไปเพิ่มรายได้ในงบรายได้รายจ่าย ซึ่งทำให้เงินออมเพิ่มมากกว่าเดิมอีก แบบนี้เขาถึงเรียกว่า “มั่งคั่งไม่รู้จบ” ซึ่งเป็นคาถาของเศรษฐีนั่นเอง 

อ่านประกอบ

การเงินมั่นคง ครัวเรือนมั่งคั่ง (2) วิธีวัดความมั่งคั่ง

การเงินมั่นคง ครัวเรือนมั่งคั่ง (1)


Let's block ads! (Why?)



"เงินฝากสามัญ" - Google News
September 03, 2020 at 11:40AM
https://ift.tt/3bmHwnK

การเงินมั่นคง ครัวเรือนมั่งคั่ง (3) สำรวจสุขภาพทางการเงิน - thansettakij.com
"เงินฝากสามัญ" - Google News
https://ift.tt/3cRGdfx

No comments:

Post a Comment